สำหรับจุลินทรีย์ที่เกษตรกรนำมาใช้กับการทำเกษตรในปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด รวมไปถึงฮอร์โมนทั้งหลาย

โดยกลุ่มจุลินทรีย์ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ร่วมกับการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อเอาไว้รับประทานเอง หรือทำแปลงผักปลอดสาร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพึ่งพากลุ่มจุลินทรีย์จำพวกนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria) ที่มีคุณสมบัติ สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความอุดมสมบูรณ์
  • กลุ่มจุลินทรีย์สร้างกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) คุณสมบัติ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ
  • กลุ่มจุลินทรีย์หมัก เช่น ยีสต์ (Yeast) คุณสมบัติ ช่วยในการย่อยสลาย

สำหรับเรื่องนี้จะเน้นในส่วนของกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นหลัก

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง คืออะไร

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ง่าย เพราะมีกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแหล่งน้ำ และยังพบได้ในแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย ในบางส่วน โดยจะมีบทบาทความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 – assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) เป็นหลัก

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์ที่มีประโยชน์สูงและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช รู้จักกันมานานแล้วในชื่อฮอร์โมนไข่ เนื่องจากส่วนประกอบหลักคือไข่สด ซึ่งเป็นโปรตีนจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีประโยชน์และโทษอย่างไร

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 – Assimilation) รวมไปถึงการตรึงไนไตรเจน (Nitrogen Fixation) มีความสำคัญในระบบนิเวศน์ ซึ่งสัตว์ขนาดเล็กจำพวก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ ซึ่งนอกจากภาคเกษตรแล้ว ยังมีการนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนและการทำปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับที่นำมาใช้ในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สะสมกำมะถัน โดยแบคทีเรียชนิดนี้เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสง จะเกิดกระบวนการใช้แสง ถ้าสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ไม่มีแสงก็เปลี่ยนระบบมาเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องใช้แสง ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้นจึงนำประโยชน์จากกระบวนการดำรงชีวิตนี้มาใช้ในการปรับปรุงสภาพดิน ให้เหมาะสมกับการดูดซึมสารอาหารของพืช รวมไปถึงช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีโทษ หรือข้อเสียอย่างไร

แต่เดิมเรารู้กันว่า ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีประโยชน์ มักจะไม่เจอโทษหรือผลเสียหาย แต่ปัจจุบันมันเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากการใช้จุลินทรีย์ที่เกิดจากการหมักดองประเภทนี้ มันจะทำให้เราได้จุลินทรีย์จริง หรือ อาจได้เชื้อโรคที่เข้าใจว่าเป็นประโยชน์ มีคนสงสัยกันไหมในข้อนี้

ตามที่หลายคนตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าในส่วนของการปนเปื้อนของหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และนำมาซึ่งเชื้อที่สามารถก่อโรคระบาดสู่เกษตรกรผู้ใช้ เนื่องจากผลของการใช้ของหมักมาเป็นอาหารให้หัวเชื้อและเกิดการปนเปื้อน

ข้อสังเกตุคือ “ถ้าสีแดงที่พบนั้น คือ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงจริง น้ำสีแดงหรือสีเขียวก็ไม่ควรจะมีสีเมื่อหมักตั้งไว้ในที่ร่ม เนื่องจากไม่เกิดการสังคราะห์แสงจริง (ไม่โดนแสง)”

ข้อพิสูจน์แล้วคือ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถเจริญได้ทั้งในแบบใช้แสงและไม่ใช้แสง 
นอกจากนี้ ไม่เคยพบรายงานใดที่ระบุว่าจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่อเกษตรกร นักวิจัยของญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่ค้นพบว่านอกจากจะมีประโยชน์กับพืชแล้ว สามารถผสมอาหารเพื่อเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย”

แต่ก็ยังไม่จบที่ว่า เชื้อที่ก่อโรคสามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป เพราะในธรรมชาติ มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สร้าง pigment เม็ดสีในเซลล์ได้ เช่น ยีสต์ รา รวมถึงแบคทีเรีย ถึงจะไม่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงแต่เซลล์ก็ยังแดงได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนกลัว ว่าการใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ได้ผ่านการทำอย่างถูกวิธี จะมีการปนเปื้อนของเชื้อที่ก่อโรคตั้งแต่คราวแรก และอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าได้ประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน

หากใครทำเกษตรแล้วไม่มีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไว้ติดสวน แสดงว่ายังทำเกษตรไม่เป็น เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถใช้ได้บ่อยและครอบคลุมหลายอย่าง ทั้งการฉีดพ่นทางใบเพื่อบำรุงใบและดอกผล หรือการฉีดพ่นทางรากเพื่อใช้เป็นปุ๋ย บำรุงดิน ปรับสภาพดินให้พืชหาอาหารได้ดีขึ้นก็ทำได้ และการใช้ก็ไม่มีอันตรายใดกับพืช ยิ่งใช้บ่อย พืชยิ่งงอกงาม

รู้อย่างนี้แล้ว จะไม่ลองหาจุลินทรีย์ที่ว่ามาข้างต้นทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้นี้ ไปใช้กับการทำเกษตรอินทรีย์ของคุณดูล่ะ รับรองว่า จะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

ดูข้อมูลเรื่อง วิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใช้เอง

คลังฐานข้อมูลการเกษตร

คลังฐานข้อมูล นี้ รวมข้อมูลพันธุ์พืช สัตว์ และข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พันธุ์สัตว์ มีทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง และสัตว์เศรษฐกิจ รวมไปถึงข้อมูลการทำเกษตรในระบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และใช้ชีวิตให้รอดในยุคปัจจุบัน

รวมข้อมูลพันธุ์พืช

พันธุ์พืช

เช่น พืชสวนพืชไร่, พันธุ์ไม้ยืนต้น, ผลไม้, ผักสวนครัว, พืชสมุนไพร, ข้าวไทย, พืชเศรษฐกิจ

รวมข้อมูลพันธุ์สัตว์

พันธุ์สัตว์

เช่น สัตว์น้ำ, สัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูลการทำเกษตร

การทำเกษตร

เนื้อหาเกี่ยวกับ แมลงศัตรูพืช, ดินและปุ๋ย, โรคพืช, โรคสัตว์ ฯลฯ

พันธุ์อะโวคาโดที่ให้ผลผลิตดีสุด

สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีสุด ที่สวนของชาวเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้วิธีการเสียบกิ่ง ทาบกิ่ง มากกว่าจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5×5 รีบเลยก่อนหมด

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5x5 รีบเลยก่อนหมด

ผลไม้ คืออะไร

ตามปกติ ผลไม้ คือ ผลของพืชหรือต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเรียกว่า ผลไม้ ได้ทั้งหมด

ผักออร์แกนิค คืออะไร

ความหมายของ ผักออร์แกนิค คือ พืชผักทุกชนิด ที่มีกระบวนการผลิต โดยไม่ใช้สารเคมี

ส้มแก้วสมคิด พรรณไม้ใหม่ของโลกที่คนไทยค้นพบ

ส้มแก้วสมคิด เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่นักวิจัยไทยได้ค้นพบ มีลักษณะคล้ายกับมะแปม รสเปรี้ยว รับประทานได้

น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง

น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นควันสีขาวที่เกิดจากการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ของเชื้อเพลิงจากพืชพลังงานชนิดต่าง ๆ จนได้เป็นกรดชนิดหนึ่ง