Geographical Indications หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า GI หมายถึง การเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยการผลิตที่มีเอกลักษณ์ มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ผลิต สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นสินค้าที่เกิดขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง และมีลักษณะจำเพาะที่เป็นความพิเศษในตัวสินค้า และเกี่ยวพันธ์กับผู้ผลิตสินค้านั้นๆ

ข้าว GI ข้าวของคนไทย

พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่เรียก หรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่า สินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว ข้าวที่เป็นสายพันธุ์ไทยแท้ และได้ขึ้นทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยกระดับข้าวไทยให้เป็น 8 ข้าว GI ที่เกิดความแตกต่าง และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าข้าวไทยได้ก้าวไกลยิ่งขึ้น

ข้าว GI สายพันธุ์ไทย

ข้าว GI สายพันธุ์ไทย

รายการข้าวไทยที่ได้มีการขึ้นทะเบียนแล้วกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.56) มีทั้งหมดตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน รวม 8 รายการ และมีเพียง 1 รายการเท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indications กับสหภาพยุโรปซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2556 และถือเป็นรายแรกในอาเซียนที่ได้รับจด GI ในอียู ข้าวชนิดนั้นคือสายพันธุ์อะไร มาดูกัน

ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง Sangyod Maung Phatthalung Rice

คำนิยาม หมายถึงข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์เบา ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปี ในเขตพื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่พัทลุง

กระบวนการผลิต เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรและโรงสีที่ผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงต้องมาขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกลุ่มกันก่อนจะเริ่มต้นทำการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ คุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน โดยแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน ปลูกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และความชื้นเมื่อเก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 14 และไม่เกินร้อยละ 15

ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง Sangyod Maung Phatthalung Rice

ลักษณะทางกายภาพ ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน ส่วนข้าวสารเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีขาวปนแดง หรือชมพู รูปร่างเรียวเล็ก เมื่อขัดสีจะมีสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ข้าวซ้อมมือสังข์หยดเมืองพัทลุงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งในท้องตลาด

ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ Khao Jek Chuey Sao Hai

คำนิยาม หมายถึงข้าวที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกพันธุ์เจ๊กเชย ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองและเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ปลูกอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค อำเภอหนองโดน และกิ่งอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค อำเภอหนองโดน และกิ่งอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี โดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร โรงสี และผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกก่อนเริ่มทำการเพาะปลูก ซึ่งเมล็ดพันธุ์ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ มีคุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน ได้ตามมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว ทำการปลูกในระหว่างเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม การเก็บรักษาผลผลิตข้าวต้องมีความชื้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 14 และไม่เกินกว่าร้อยละ 15

ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ Khao Jek Chuey Sao Hai

ลักษณะทางกายภาพ ขนาดเมล็ดข้าวจะมีขนาดเล็ก ข้าวกล้องยาวประมาณ 7.12 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวเปลือกยาวประมาณ 9.90 มิลลิเมตร สีข้าวเปลือกสีฟาง มีน้ำหนัก 100 เมล็ดตั้งแต่ 2.67-3.02 กรัม เป็นข้าวพื้นแข็ง เมื่อหุงสุกข้าวจะร่วนเป็นตัว ไม่เกาะเป็นก้อน หุงขึ้นหม้อ ข้าวสุกจะนุ่มไม่แฉะ ไม่แข็งกระด้าง ไม่เหนียวเละ ไม่ยุบตัวเมื่อเป็นข้าวราดแกง ไม่บูดง่ายเมื่อทิ้งไว้ข้ามวัน ข้าวเก่าเมื่อนำมาหุงไม่มีกลิ่นสาบ มีคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง[/toggle]

ข้าวก่ำล้านนา Khao Kum Lanna

คำนิยาม หมายถึงข้าวเหนียวที่มีเมล็ดสีดำ ที่ได้จากข้าวก่ำพันธุ์ดอยสะเก็ด ข้าวก่ำอมก๋อย ข้าวก่ำพะเยา หรือข้าวก่ำพื้นเมืองที่มีคุณภาพดี ซึ่งเป็นข้าวเหนียวดำไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปี ในพื้นที่ภาคเหนืองตอนบน 8 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เมล็ดพันธุ์ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ข้าวก่ำอมก๋อย ข้าวก่ำพะเยา หรือข้าวก่ำพื้นเมืองที่มีคุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน ได้จากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์หน่วยวิจัยข้าวก่ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ หรือเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรผลิตเองที่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ โดยทำการปลูกในฤดูนาปีระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม การเก็บเกี่ยวต้องเก็บรักษาผลผลิตข้าวให้มีความชื้นที่เหมาะสมไม่เกินร้อยละ 15

ลักษณะทางกายภาพ ต้องเป็นข้าวที่เมล็ดข้าวมีสีม่วงหรือสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มี Gamma Oryzanol, Anthocyanin, Vitamin E ในปริมาณสูง ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะแต่ละสายพันธุ์ของข้าวก่ำ โดยแบ่งชนิดคือ

  • ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ลำต้นมีลักษณะเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ เปลือกเมล็ดสีม่วง เมล็ดข้าวกล้องมีสีม่วง ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 3.3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 9.7 มิลลิเมตร หนาประมาณ 1.91 มิลลิเมตร
  • ข้าวก่ำอมก๋อย ลำต้นมีลักษณะเป็นสีม่วงปนเขียว เมล็ดข้าวกล้องและเยื้อหุ่มเมล็ดสีม่วง ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 8.9 มิลลิเมตร
  • ข้าวก่ำพะเยา ลำต้นมีลักษณะเป็นสีม่วง เมล็ดข้าวกล้องมีสีม่วง ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 2.93 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 7.7 มิลลิเมตร หนาประมาณ 1.91 มิลลิเมตร
  • ข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมือง ลำต้นมีลักษณะเป็นสีม่วง สีม่วงปนเขียว หรือสีเขียว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางหรือฟางอมม่วง

ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ Kaowong Kalasin Sticky Rice

คำนิยาม หมายถึงข้าวพันธุ์กอเดียว (ข้าวพันธุ์พื้นเมือง) ข้าวพันธุ์ กข 6 เป็นข้าวเหนียวที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ในเขตพื้นที่ปลูกข้าวอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโก และตำบลหนองห้าง) กิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคู และตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ (เขตพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน)

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ปลูกข้าวอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโก และตำบลหนองห้าง) กิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคู และตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร โรงสี หรือผู้ประกอบการ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ก่อนเริ่มทำการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าว ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์กอเดียว และพันธุ์ กข 6 บริสุทธิ์ มีคุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน ได้จากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน โดยทำการปลูกในช่วงฤดูนาปี เดือนมิถุนายน-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน การเก็บรักษาผลผลิตข้าวต้องมีความชื้นที่เหมาะสมประมาณร้อยละ 14 ไม่เกินร้อยละ 15

ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ Kaowong Kalasin Sticky Rice

ลักษณะทางกายภาพ ข้าวเปลือกเป็นข้าวมีเปลือกสีน้ำตาล ข้าวสารมีสีขาวนวลเป็นข้าวเหนียว เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ ข้าวที่นึ่งเมื่อเก็บในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมงจนข้าวเย็น ยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้นาน ไม่แข็ง

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice

คำนิยาม หมายถึงข้าวเปลือก ข้าวกล้องและข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อแสงคือ พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคามและร้อยเอ็ด เกษตรกรผู้ปลูกต้องขึ้นทะเบียนก่อนการเริ่มเพาะปลูกทุกปี และต้องมีการจดทะเบียนข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิต มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการขนย้ายเข้าโรงสี ด้านเมล็ดพันธุ์ต้องเป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่มาจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามมาตรฐานในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต้องทำการปลูกในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม และต้องตากข้าว 2-3 วันเพื่อลดความชื้น

ลักษณะทางกายภาพ ต้องมีเมล็ดที่ยาวเรียว และไม่มีหางข้าว เมล็ดที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและมีความยาวกว่า 7 มิลลิเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้างต้องมากกว่า 3.2 มีท้องไข่น้อยกว่าร้อยละ 6[/toggle]

ข้าวเหลืองประทิวชุมพร Khao Leuang Patew Chumphon

คำนิยาม หมายถึงข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองประทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนักไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ตามระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร โรงสี ผู้ประกอบการ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกก่อนทำการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องเป็นเมล็ดพันธุ์เหลืองประทิว 123 บริสุทธิ์ มีคุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน ได้จากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน โดยเริ่มปลูกในฤดูนาปีช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม โดยปลูกในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยหรือวัสดุปรับปรุงดิน ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์เท่านั้น และต้องมีการเก็บรักษาผลผลิตข้าวให้มีความชื้นที่เหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 14 และไม่เกินร้อยละ 15

ข้าวเหลืองประทิวชุมพร Khao Leuang Patew Chumphon

ลักษณะทางกายภาพ ข้าวเปลือกมีเปลือกสีเหลือง ข้าวกล้องมีสีเหลืองอ่อน ยาวเรียว โดยความยาวประมาณ 3.3 มิลลิเมตร ข้าวสารมีสีขาว เป็นข้าวที่มีไนอะซินสูงประมาณ 9.3 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ข้าวกล้องไม่เกาะกันเป็นก้อนและหุงขึ้นหม้อ เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเส้น จะได้เส้นที่เหนียว นุ่ม ไม่ยุ่ยหรือขาดง่าย

ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ Surin Hom Mali Rice

คำนิยาม หมายถึงข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่ผลิตในจังหวัดสุรินทร์ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องเป็นข้าวดอกมะลิ 105 หรือพันธุ์ กข. ที่มีคุณภาพดีของตนเอง หรือมาจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เชื่อถือและตรวจสอบคุณภาพได้ ต้องปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม และต้องมีความชื้นของเมล็ดข้าวอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ Surin Hom Mali Rice

ลักษณะทางกายภาพ เมล็ดข้าวขาวเรียวยาว ขาวใส เป็นเงา เลื่อมมัน มีท้องไข่น้อย มีความยาวมากกว่า 7 มิลลิเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้างมากกว่า 3.2 มิลลิเมตร มีท้องไข่น้อยกว่าร้อยละ 6 และมีกลิ่นหอม ดังที่ชาวสุรินทร์กล่าวไว้ว่า ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม ซึ่งมีความหมายถึง…

  • หอม มีความหอมตั้งแต่ข้าวเริ่มเป็นต้นกล้าแทงดอก และระยะข้าวสุก ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวขาว จนถึงหุงสุกเป็นข้าวสวยก็มีความหอมกรุ่น
  • ยาว ลักษณะข้าวเปลือกและข้าวกล้องจะมีเมล็ดยาวไม่ต่ำกว่า 7 มิลลิเมตร และมีความหอมยาวนาน
  • ขาว ลักษณะของสีข้าวมีสีขาวใสเป็นเลื่อมมัน ใสสวย เมื่อหุงสุกเป็นข้าวสวยจะมีสีขาว
  • นุ่ม เมื่อหุงสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ชุ่มลิ้น กินอร่อย

ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี Sakon Dhavapi Haang Golden Aromatic Rice

คำนิยาม หมายถึงข้าวกล้องที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกเหนียวพันธุ์ กข 6 หรือข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเวลาเป็นน้ำนมยังไม่แก่จัด ปลูกอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอวารัชภูมิ อำเภอพังโคน และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และต้องผ่านกรรมวิธีเฉพาะตามหลักประเพณีการทำข้าวฮางที่สืบต่อกันมาในพื้นที่

กระบวนการผลิต พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอวารัชภูมิ อำเภอพังโคน และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ต้องปลูกระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวในระยะที่ข้าวเปลือกเป็นน้ำนมยังไม่แก่จัด โดยขนาดพัฒนาเมล็ดประมาณร้อยละ 8.5 ขึ้นไป เมล็ดมีคุณภาพดี ไม่มีสิ่งเจือปน สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ และต้องมีความชื้นที่เหมาะสมไม่เกินร้อยละ 10

ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี Sakon Dhavapi Haang Golden Aromatic Rice

ลักษณะทางกายภาพ ข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลคล้ำ หรือเหลืองทอง เมล็ดจะมีกลิ่นหอม เรียว แกร่ง ใส มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 โดยเมล็ดพันธุ์ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกเหนียวพันธ์ กข 6 หรือข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเวลาเป็นน้ำนมยังไม่แก่จัด

ข้าวไทย ข้าว GI

ถึงแม้ว่าการขึ้นทะเบียน GI จะถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ได้รับเครื่องหมายการรับรอง GI จะต้องได้รับการดูแลควบคุมทุกขั้นตอนในการผลิต การรักษามาตรฐานของสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค กระนั้น ในความภาคภูมิของท้องถิ่นย่อมนำมาซึ่งความแตกต่างและมีสิ่งที่น่าชื่นชมและหวงแหน เพราะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และยังเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภทในการต่อยอดทางความคิด เช่น การท่องเที่ยว

อ้างอิงข้อมูลบทความข้าว GI หน้า 42 วารสารข้าวไทย ฉบับที่ 37

เรียบเรียงข้อมูลที่ https://www.kasetorganic.com/thairices/

คลังฐานข้อมูลการเกษตร

คลังฐานข้อมูล นี้ รวมข้อมูลพันธุ์พืช สัตว์ และข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พันธุ์สัตว์ มีทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง และสัตว์เศรษฐกิจ รวมไปถึงข้อมูลการทำเกษตรในระบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และใช้ชีวิตให้รอดในยุคปัจจุบัน

รวมข้อมูลพันธุ์พืช

พันธุ์พืช

เช่น พืชสวนพืชไร่, พันธุ์ไม้ยืนต้น, ผลไม้, ผักสวนครัว, พืชสมุนไพร, ข้าวไทย, พืชเศรษฐกิจ

รวมข้อมูลพันธุ์สัตว์

พันธุ์สัตว์

เช่น สัตว์น้ำ, สัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูลการทำเกษตร

การทำเกษตร

เนื้อหาเกี่ยวกับ แมลงศัตรูพืช, ดินและปุ๋ย, โรคพืช, โรคสัตว์ ฯลฯ

พันธุ์อะโวคาโดที่ให้ผลผลิตดีสุด

สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีสุด ที่สวนของชาวเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้วิธีการเสียบกิ่ง ทาบกิ่ง มากกว่าจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5×5 รีบเลยก่อนหมด

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5x5 รีบเลยก่อนหมด

ผลไม้ คืออะไร

ตามปกติ ผลไม้ คือ ผลของพืชหรือต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเรียกว่า ผลไม้ ได้ทั้งหมด

ผักออร์แกนิค คืออะไร

ความหมายของ ผักออร์แกนิค คือ พืชผักทุกชนิด ที่มีกระบวนการผลิต โดยไม่ใช้สารเคมี

ส้มแก้วสมคิด พรรณไม้ใหม่ของโลกที่คนไทยค้นพบ

ส้มแก้วสมคิด เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่นักวิจัยไทยได้ค้นพบ มีลักษณะคล้ายกับมะแปม รสเปรี้ยว รับประทานได้

น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง

น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นควันสีขาวที่เกิดจากการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ของเชื้อเพลิงจากพืชพลังงานชนิดต่าง ๆ จนได้เป็นกรดชนิดหนึ่ง