วันนี้ฟองเบียร์อยากแชร์การทำเกษตรในพื้นที่จำกัด ซึ่งถ้าหากเรามีพื้นที่น้อยแต่อยากเลี้ยงปลา ทำอย่างไรให้คุ้มค่าของพื้นที่ที่สุด

โดยมีปลาไว้เป็นอาหารทดแทนพื้นที่ที่เสียไปในการทำเกษตรด้านอื่น หรือเพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง

ก่อนอื่น หากใครเอ่ยว่า มีพื้นที่น้อยไม่คุ้มกับการขุดบ่อขุดสระ จริงๆ ต้องมองถึงวัตถุประสงค์หลักก่อน หากต้องการวางแผนขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างนี้ ปัจจัยแรกคือ เราไม่ได้เน้นเรื่องการเก็บน้ำแน่นอน เพราะพื้นที่น้อยขนาดนี้ เก็บน้ำไม่ได้แน่ๆ ต่อให้ขุดทั้งสวนก็ตาม (พื้นที่น้อยในที่นี้คือ มีพื้นที่ไม่ถึง 1 ไร่ เช่น มีพื้นที่เพียง 2 งาน แต่อยากขุดสระเก็บน้ำไปด้วย และเลี้ยงปลาไปด้วย แต่ไม่เน้นเรื่องการกักเก็บน้ำ) และการขุดบ่อนี้ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง วันนี้ลองมาหาคำตอบกับเราฟองเบียร์กันเลย

บางคนบอกว่าพื้นที่น้อยไม่ควรขุดสระหรือบ่อ เพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

ที่ว่าไม่คุ้มค่า เขาอาจเทียบกับพื้นที่ปลูกผักที่จะเสียไปประมาณ 10x5x2 เมตร และน้ำก็เก็บไม่ได้เพราะลึกไม่พอ แต่หากเทียบกับโคกหนองนาโมเดล ที่ปัจจุบันมีการเอาพื้นที่ 80% ไปเป็นบ่อก็คุ้มอยู่นะ อีกอย่าง ยุคนี้การเก็บน้ำไม่ใช่การขุดสระแบบเดิมๆ อีกแล้ว เราสามารถใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ รองก้นบ่อเพื่อจำกัดจำนวนน้ำได้ โดยได้น้ำแบบเต็มกำลัง

ขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อยอย่างไรให้คุ้มค่า

ความลึกของบ่อเลี้ยงปลา ต้องสัมพันธ์กับความกว้างของบ่อ

อีกทั้งความลึกของบ่อก็มีส่วนทำให้บริเวณขอบบ่อถูกบังคับให้ขยายกว้างออกไป เช่น บ่อจะต้องมีชานพักบ่อ หรือสโลบ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินในบ่อ ชานพักบ่อหรือสโลปสำคัญกับบ่อเลี้ยงปลา หากขุดแล้วใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อรองก้นบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ ก็จะต้องมั่นใจว่า สามารถจัดการเรื่องการถ่ายเทความสกปรกของน้ำออกไปได้ เพราะบ่อแบบปิดนั้น จำเป็นต้องมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อย 20% ในทุกเดือนหรือ 3 เดือน หรือต้องมั่นใจได้ว่า สิ่งสกปรกก้นบ่อจะไม่เกิดการหมักหมมจนทำให้ต้องรื้อบ่อกันใหม่ในอนาคต สิ่งเหล่านี้หากจัดการได้ไม่ดีนัก ก็จะต้องใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น

จะดีกว่าไหมถ้าขุดบ่อเลี้ยงปลาในครั้งเดียวแล้วให้ระบบมันทำงานของมันได้เองโดยที่เราแค่ใช้เวลาเลี้ยงปลา จับปลา เฉยๆ

การขุดบ่อเลี้ยงปลา ควรมีความลึกเท่าไหร่ถึงจะดี

ถ้าเลี้ยงปลาพื้นถิ่นทั่วไป บ่อเลี้ยงปลามีความลึกเพียง 0.5 เมตรก็สามารถเลี้ยงปลาได้หลายสายพันธุ์แล้ว และปลาก็สามารถเติบโตได้ดีอีกด้วย เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลานิล ปลายี่สก ปลาทับทิบ แม้จะมีความลึกบ่อแค่ 2 เมตรก็เพียงพอแล้วสำหรับการอาศัยของปลาสิ่งสำคัญของการเลี้ยงปลาก็คือ ภายในบ่อปลาจะต้องมีพื้นที่ทั้งตื้น และลึกผสมกัน

ข้อดีของการมีพื้นที่ตื้นและลึกไม่เท่ากันในบ่อปลานั้น จะช่วยให้บ่อได้รับออกซิเจนได้อย่างทั่วถึง และพื้นที่ตื้นก็เป็นแหล่งอาศัยของปลาเล็ก หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์น้ำ

บริเวณขอบบ่อหรือชานพักบ่อ รวมไปถึงบริเวณริมขอบสระนั้น แสงแดดสามารถส่องลงไปถึงบริเวณดังกล่าวได้ถึงผิวดิน ทำให้ระบบนิเวศน์ของบ่อปลาเกิดขึ้น พืชน้ำสามารถเติบโตได้และยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีแก่สัตว์น้ำภายในบ่อเลี้ยงปลาอีกด้วย

ส่วนพื้นที่ลึกสุด จะเป็นแหล่งเก็บน้ำในยามแล้ง และเป็นที่กักเก็บและจำกัดบริเวณของเสียที่อยู่ในก้นบ่อ ทำให้การจัดการบ่อเลี้ยงปลาทำได้ง่ายขึ้น

ขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อยอย่างไรให้คุ้มค่า
ขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อยอย่างไรให้คุ้มค่า

การขุดบ่อลึกไม่เกิน 2-3 เมตร ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

  1. พื้นที่น้ำท่วมถึง ควรทำขอบบ่อให้สูง และไม่ควรใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อเพื่อเก็บน้ำ เพราะเวลาน้ำท่วมจะทำให้เกิดความเสียหายและยุ่งยากในการจัดการบ่อเลี้ยงปลาให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
  2. พื้นที่แห้งแล้ง อาจเลือกใช้การปูพลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อการกักเก็บน้ำ แต่ต้องมั่นใจว่ามีการถ่ายเทน้ำภายในบ่อเลี้ยงปลาได้อย่างน้อย 20% ในแต่ละเดือนหรือทุก 3 เดือน ไม่เช่นนั้น สิ่งสกปรกจะหมักหมมที่ก้นบ่อ และทำให้น้ำเสีย เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  3. ชานพักบ่อ ในระดับความลึก 2 เมตรสามารถทำสโลปโดยไม่ต้องมีชานพักบ่อได้ แต่หากต้องการชานพักบ่อ สามารถใช้ความลึกที่ 0.5 เมตรได้ ชานพักบ่อมีข้อดีกับบ่อทุกขนาด เพราะทำให้บ่อไม่พังทลาย แถมยังเป็นที่อนุบาลลูกปลาและสัตว์เล็กๆ แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงหน้าดิน เกิดระบบนิเวศน์ขึ้น ทำให้พืชน้ำเติบโตและเป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหารของสัตว์น้ำได้อีกด้วย

ข้อแนะนำในการขุดบ่อเลี้ยงปลา

ข้อแนะนำสำหรับใครที่มีพื้นที่น้อย และอยากขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำอย่างไรให้คุ้มและง่ายต่อการจัดการ วิธีที่เรา(ทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง)จะบอกก็คือ…

  • การขุดบ่อลึกเพียง 2-3 เมตร แนะนำให้ขุดหลุมขนมครกไว้อย่างน้อย 1-2 หลุม อาจใช้พื้นที่ 1 ตารางเมตรก็ได้ ในจุดก้นบ่อหรือจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อเวลาน้ำลดลงมากๆ สัตว์น้ำจะได้มีที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว และเป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บของเสียในบ่อให้มารวมกันเพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น
  • ภายในบ่อเลี้ยงปลา ควรมีบริเวณที่มีความลึกและตื้น พื้นที่ไม่ลึกมากนั้นมีไว้สำหรับสัตว์เล็กๆ อาศัยพักพิง และบริเวณพื้นที่ที่มีความลึกน้อยนี้ คือสำคัญที่สุด เนื่องจากในบริเวณนี้จะได้รับทั้งแดดและลม ทำให้กระแสน้ำได้รับออกซิเจนมากที่สุด เป็นแหล่งเติมออกซิเจนให้กับน้ำทั้งบ่อโดยไม่ต้องเปลืองแรงงาน

สิ่งที่สังเกตุได้ หากบ่อเลี้ยงปลาบ่อไหนมีพื้นที่ตื้นๆ มาก หรือมีริมตลิ่งที่กว้างมาก บ่อเลี้ยงปลานั้นจะเกิดน้ำเน่าเสียได้ยาก รวมไปถึงปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ก็จะขยายพันธุ์ได้เร็วมากขึ้นด้วย โดยที่แทบไม่ต้องลงทุนถ่ายน้ำหรือเติมออกซิเจนให้ปลาในบ่อบ่อยๆ เลย

ขุดบ่อไป 80% ของพื้นที่เพื่อหวังเก็บน้ำ กับโมเดลโคกหนองนา

หากการเลี้ยงปลากับความลึก 2 เมตรก็เพียงพอต่อการจัดการ แต่การขุดลึกกว่า 2 เมตร มีจุดประสงค์เดียวคือ เลี้ยงปลาใหญ่ หรือเป็นพื้นที่เก็บน้ำ

แต่ต้องมั่นใจด้วยว่ามีพื้นที่เหลือให้ใช้ประโยชน์มากพอ เพราะการขุดลึกเกินไปอาจไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไปเพราะแค่อยากเก็บน้ำไว้รดต้นไม้ แต่ลืมนึกไปว่า ต้นไม้สามารถหาน้ำได้กว้างหลายเมตรก็จริง แต่ถ้าไม่ใช่ไม้ใหญ่ รากก็แทงลึกไม่ถึง 2 เมตร ในเมื่อน้ำอยู่ลึกหลายสิบเมตร ก็ยากที่จะทำให้ผิวดินชุ่มชื้นนอกจากจะใช้เครื่องทุ่นแรงนำน้ำขึ้นมา

ถ้าหากเป็นพื้นที่แห้งแล้งจริงๆ อาจใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อช่วยการกักเก็บน้ำ แต่ควรคำนึงถึงผลกระทบ หากขุดลึกมาก ก็ต้องขยายพื้นที่บ่อให้กว้างขึ้นด้วย อีกทั้งการจัดการเรื่องสิ่งสกปรกก้นบ่อก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

โคกหนองนาโมเดล คุ้มไหมกับพื้นที่บ่อที่เสียไป

การใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

หากต้องใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำ ก็ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้นน้ำไม่ท่วม และเป็นพื้นที่แห้งแล้งจริงๆ เพราะหากมีน้ำท่วมอาจมีความเสียหายเกิดขึ้นกับบ่อ อีกทั้งการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ จะทำให้ก้นบ่อเกิดการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลจากสัตว์น้ำและดินโคลนที่ทับถมกัน อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย และเป็นแหล่งของเชื้อโรคและความสกปรก หากไม่มีการถ่ายเทและจัดการน้ำที่ดีพอ ในอนาคต ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับน้ำภายในบ่ออย่างแน่นอน

ข้อดีของการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ

  • กักเก็บน้ำได้ดี
  • เหมาะกับพื้นที่แห้งแล้ง
  • ไม่ต้องใช้ความลึกของบ่อมากก็สามารถเก็บน้ำได้
  • สะดวกต่อการควบคุมปริมาณน้ำ
  • พื้นที่น้อย ใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อผืนเดียว

ข้อเสียของการใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ

  • น้ำไม่มีการถ่ายเทตามธรรมชาติ
  • ของเสียสะสมที่ก้นบ่อ
  • มีต้นทุนในการถ่ายเทน้ำจากบ่อ
  • หากน้ำท่วม หรือโดนแดดจัด ก็จะเกิดความเสียหาย
  • วัสดุบางชนิดมีราคาแพง
ขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่น้อยอย่างไรให้คุ้มค่า

การป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายๆ หากต้องใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ แนะนำคือ ควรต้องทำชานพักบ่อกว้างอย่างน้อย 0.5 เมตร ในทุกๆ ความลึก 1-2 เมตร หรือจำเป็นต้องมีริ่มตลิ่ง หรือขอบสระที่กว้างอย่างน้อย 1 เมตรต่อความลึก 2 เมตร

เพราะฉะนั้น การขุดบ่อเลี้ยงปลาลึกเพียง 2 เมตร อาจทำปากบ่อให้สโลปเอียงได้มากสุด 15องศาต่อตารางเมตร แต่หากลึกกว่านี้จะต้องทำที่พักบ่อกว้าง 0.5-1 เมตร ในทุก 2 เมตร การทำที่พักบ่อจะสัมพันธ์กับความลึกของบ่อ เมื่อบ่อลึก ก็ทำให้บริเวณขอบต้องขยายกว้างออกไปด้วย และหากมีพื้นที่น้อย การขุดลึกมากเกินไปอาจไม่เหมาะสม และเราอาจได้บ่อเลี้ยงปลาที่มีจุดลึกสุดแค่ตารางเมตรเดียว ซึ่งถือว่าไม่คุ้มในการลงทุน

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อดีคือ มีจุดที่สามารถกักเก็บน้ำได้โดยที่ปลาได้อาศัยด้วย แต่ข้อเสียคือ ต้องขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้นเพื่อทำชานพักของบ่อให้สมดุล เพราะการไม่ทำชานพักบ่อจะทำให้บ่อพังทลายลงในเวลาอันรวดเร็ว และน้ำจะเน่าเสียง่ายขึ้นด้วย

เลี้ยงปลาอะไรโตเร็วไวที่สุด

  • ปลานิล เป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนาดเฉลี่ย 500 กรัม ในเวลา 1 ปี สามารถให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม เป็นปลากินพืช 3 เดือนก็จับขายได้
  • ปลาดุก เป็นปลากินเศษพืชผักและซากสัตว์ ลูกปลาอายุ 5 วัน เมื่อถุงไข่แดงยุบ และเลี้ยงในบ่อดิน ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนถึงสามารถจับขายได้
  • ปลาช่อน อยู่ระดับน้ำลึก 1-2 เมตร แต่แม่ปลาจะอยู่เลี้ยงลูกปลาที่ระดับน้ำตื้น 1 เมตร ปลาจะโตได้ขนาดที่ตลาดต้องการต้องใช้เวลา 7-8 เดือน
  • ปลาสลิด เป็นปลาที่เหมาะกับพื้นที่ตื้นและหญ้าขึ้นรก ปลาจะโตได้ขนาดต้องการภายในเวลา 9-10 เดือน
  • ปลาแรด เมื่ออายุ 10 วันจะมีความยาว 1 ซม. ปลาแรดกินแพลงก์ตอนสัตว์ที่เกิดตามธรรมชาติจากซากพืชซากสัตว์ย่อยสลายและโดนแสงแดด วางไข่ใต้น้ำลึก 30 ซม.บนเศษใบไม้เศษหญ้า ปลาแรดโตช้า ใช้เวลาเลี้ยง 2-3 ปีถึงจะได้ตามขนาดที่ต้องการของตลาด

คลังฐานข้อมูลการเกษตร

คลังฐานข้อมูล นี้ รวมข้อมูลพันธุ์พืช สัตว์ และข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พันธุ์สัตว์ มีทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง และสัตว์เศรษฐกิจ รวมไปถึงข้อมูลการทำเกษตรในระบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และใช้ชีวิตให้รอดในยุคปัจจุบัน

รวมข้อมูลพันธุ์พืช

พันธุ์พืช

เช่น พืชสวนพืชไร่, พันธุ์ไม้ยืนต้น, ผลไม้, ผักสวนครัว, พืชสมุนไพร, ข้าวไทย, พืชเศรษฐกิจ

รวมข้อมูลพันธุ์สัตว์

พันธุ์สัตว์

เช่น สัตว์น้ำ, สัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูลการทำเกษตร

การทำเกษตร

เนื้อหาเกี่ยวกับ แมลงศัตรูพืช, ดินและปุ๋ย, โรคพืช, โรคสัตว์ ฯลฯ

พันธุ์อะโวคาโดที่ให้ผลผลิตดีสุด

สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีสุด ที่สวนของชาวเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้วิธีการเสียบกิ่ง ทาบกิ่ง มากกว่าจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5×5 รีบเลยก่อนหมด

ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5x5 รีบเลยก่อนหมด

ผลไม้ คืออะไร

ตามปกติ ผลไม้ คือ ผลของพืชหรือต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเรียกว่า ผลไม้ ได้ทั้งหมด

ผักออร์แกนิค คืออะไร

ความหมายของ ผักออร์แกนิค คือ พืชผักทุกชนิด ที่มีกระบวนการผลิต โดยไม่ใช้สารเคมี

ส้มแก้วสมคิด พรรณไม้ใหม่ของโลกที่คนไทยค้นพบ

ส้มแก้วสมคิด เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่นักวิจัยไทยได้ค้นพบ มีลักษณะคล้ายกับมะแปม รสเปรี้ยว รับประทานได้

น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง

น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นควันสีขาวที่เกิดจากการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ของเชื้อเพลิงจากพืชพลังงานชนิดต่าง ๆ จนได้เป็นกรดชนิดหนึ่ง