วันนี้เรามาทำความรู้จักกับพันธุ์พืชที่ปฏิวัติวงการข้าวไทย นั่นก็คือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry) เพราะในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาต้องเชื่อแน่ว่าไม่มีใครไม่รู้จักข้าวชนิดนี้
ในอดีตช่วง 7-8 ปีก่อนเชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้จักว่าข้าวชนิดนี้คืออะไร รู้แค่คืออาจจะเป็นข้าวชนิดหนึ่งของไทย ในปี 2556 หรือช่วงเกือบ 10 กว่าปีมานั้น ข้าวชนิดนี้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการข้าวไทย หลังจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับบริษัท ชิงตั๊ก กรุ๊ป จำกัด ไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556
โดยตกลงกันว่าให้ทาง ม.เกษตรศาสตร์นั้น ผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ ให้ได้จำนวน 700 ตัน โดยบริษัท ชิงตั๊ก กรุ๊ป จำกัด ก็ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการผลิตเป็นจำนวนเงินสูงถึง 49,000,000 บาท (สี่สิบเก้าล้านบาทถ้วน) และให้การสนับสนุนในเรื่องภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ และในขณะเดียวกัน ก็ให้เกษตรกรบางรายได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ทดสอบไปปลูกขยายพันธุ์และแปรรูป จนสามารถสร้างรายได้สูงถึง ไร่ละสองแสนบาท นับแต่นั้น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงถือกำเนิดสู่สายตาประชาชนทั่วไป
รู้จักข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry) คือข้าวอะไร
ข้าวพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ร่วมมือกับคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการปรับปรุงพันธุ์ โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จากนั้นได้ทำการศึกษาเพาะปลูก จนสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกได้อย่างกว้างขวาง
พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวดอกมะลิ105 จึงไม่เป็นสีดำ แต่มีลักษณะเป็นสีแดงแบบลูกเบอร์รี่ (ลูกหม่อน) ที่สุกแล้ว รูปร่างเมล็ดเรียวยาวเมื่อหุ้งป็นข้าวเจ้าจะมีลักษณะเป็นสีม่วงเข้ม มีความนุ่มนวลแต่ยืดหยุ่นรสชาติอมหวาน มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นยังสะดวกในการหุงโดยสามารถปรับปริมาณการใส่น้ำได้ตามความชอบว่าจะรับประทานแบบใด หรือจะทำเป็นข้าวต้มก็ได้ ที่สำคัญคือ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และสามารถต้านทานโรคไหม้ในข้าวได้ดีมากอีกทั้งทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดินได้อีกด้วย
คุณสมบัติเด่นของ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวดีของไทย
ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยตลาดเป้าหมายที่สำคัญของข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบ่งออกเป็น 2 ตลาดใหญ่ๆ นั่นก็คือ
- ข้าวไรซ์เบอร์รี่สำหรับบริโภค ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย ทำให้มีความแตกต่างจากข้าวทั่วๆไปในท้องตลาด โดยเฉพาะคุณสมบัติที่โดดเด่นเรื่องการต้านอนุมูลอิสระส่งผลให้ตลาดข้าวไรซ์เบอร์รี่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนรักสุขภาพ
- ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ จากจุดเด่นเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เช่น น้ำมันรำข้าว วุ้นข้าวไรซ์เบอร์รี่ ไอศกรีมจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ดูจะทำเงินให้แก่เกษตรกรมากคือ การแปรรูปเป็นน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนำไปจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
หัวใจแห่งความสำเร็จของ “ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ” คือ ประสิทธิภาพในการ “ต้านอนุมูลอิสระ” โดยจากการศึกษาพบว่า ข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากเท่าใดประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3-214.7 umole/g เมื่อนำเข้าข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียวพบว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเกือบ 100 เท่าเลยทีเดียวข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่จึงเป็นแหล่งอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งได้
นอกจาก สารต้านอนุมูลอิสระสูง แล้ว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีสารอื่นๆ ที่เป็นประโยนช์ในเมล็ดข้าว อาทิ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, มีกรดโฟลิก (โฟเลต) ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ฯลฯ ขณะที่ในส่วนของรำข้าวและน้ำมันรำข้าว ก็มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงเหมาะสำหรับนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย
ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากข้าวทั่วไป รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่ชัดเจน ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่และเป็นความหวังใหม่ในการปลูกข้าวของเกษตรกรไทย
- นิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 43 หน้า 64-65
- ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จาก www.kasetorganic.com/thairices/riceberry/
คลังฐานข้อมูลการเกษตร
คลังฐานข้อมูล นี้ รวมข้อมูลพันธุ์พืช สัตว์ และข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พันธุ์สัตว์ มีทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง และสัตว์เศรษฐกิจ รวมไปถึงข้อมูลการทำเกษตรในระบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และใช้ชีวิตให้รอดในยุคปัจจุบัน
พันธุ์พืช
เช่น พืชสวนพืชไร่, พันธุ์ไม้ยืนต้น, ผลไม้, ผักสวนครัว, พืชสมุนไพร, ข้าวไทย, พืชเศรษฐกิจ
พันธุ์สัตว์
เช่น สัตว์น้ำ, สัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน
การทำเกษตร
เนื้อหาเกี่ยวกับ แมลงศัตรูพืช, ดินและปุ๋ย, โรคพืช, โรคสัตว์ ฯลฯ
พันธุ์อะโวคาโดที่ให้ผลผลิตดีสุด
สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีสุด ที่สวนของชาวเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้วิธีการเสียบกิ่ง ทาบกิ่ง มากกว่าจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ
ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5×5 รีบเลยก่อนหมด
ส่วนลดช้อปปี้เดือนพฤศจิกายน กับโปร 5x5 รีบเลยก่อนหมด
ผลไม้ คืออะไร
ตามปกติ ผลไม้ คือ ผลของพืชหรือต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเรียกว่า ผลไม้ ได้ทั้งหมด
ผักออร์แกนิค คืออะไร
ความหมายของ ผักออร์แกนิค คือ พืชผักทุกชนิด ที่มีกระบวนการผลิต โดยไม่ใช้สารเคมี
ส้มแก้วสมคิด พรรณไม้ใหม่ของโลกที่คนไทยค้นพบ
ส้มแก้วสมคิด เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่นักวิจัยไทยได้ค้นพบ มีลักษณะคล้ายกับมะแปม รสเปรี้ยว รับประทานได้
น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง
น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นควันสีขาวที่เกิดจากการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ของเชื้อเพลิงจากพืชพลังงานชนิดต่าง ๆ จนได้เป็นกรดชนิดหนึ่ง